วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

QUAD 405 CLONE : POWER AMP 100 watts

 คราวนี้อยากได้แอมป์ที่มีกำลังขับซัก 100 Watts เสริชดูในเน็ตเจอ QUAD 405 เป็นแอมป์ดังในอดีตจากอังกฤษ ปี 1975 ออกแบบโดย Peter J. Walker ได้รับรางวัล Queen’s Award for Technological Achievement ปี 1978 เป็นแอมป์ Current Damping ออกแบบมาเพื่อใช้กับลำโพง Electrostatic ของ Quad เอง (บริษัท QUAD ทำลำโพงขายมาก่อน) ด้วยความที่เสียงมีเอกลักษณ์โดดเด่นจึงทำให้ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมตลอดมา


วงจรต้นฉบับ



ต่อมาได้มีฝรั่งนัก Modify เก่งๆ  ทำการแก้ไขปรับปรุงบางจุดเพื่อให้นำมาใช้กับลำโพงประเภท Dynamic และ ลำโพงรุ่นใหม่ๆ ทั่วไปในปัจจุบันได้ และเช่นเคยได้มีผู้นำมาทำเป็น QUAD 405 CLONE ขายกัน ทั้งแบบประกอบสำเร็จลงกล่อง เหมือนต้นฉบับทุกอย่าง หรือเป็นแบบชุด KITS ที่มีแบบประกอบบัดกรีลงอุปกรณ์ให้ และแบบ PCB ที่ต้องมาประกอบบัดกรีเอง

แบบที่ซื้อมา แต่ไม่ได้ลงอุปกรณ์เหมือนในรูปต้องบัดกรีเอง

ผมเลือกแบบที่เอามาบัดกรีเองเพราะราคาถูกและมีขายในประเทศไม่ต้องสั่งจาก Ebay เลยซื้อมาลองดูอีกซักเครื่อง เป็นบอร์ดที่ผลิตมาจากจีนมีการปรับปรุงวงจรและอุปกรณ์บางตัวจากต้นฉบับเพื่อความเหมาะสมให้เข้ากับอุปกรณ์ที่มีขายในปัจจุบัน ในชุดมีแผ่น PCB ที่มีลายพิมพ์วงจรกำหนดค่าอุปกรณ์ และชิ้นส่วนอุปกรณ์ทั้งหมด ให้ 2 ชุด (แบบสเตอริโอ)

การโมจุดต่างๆ ของทางเมืองนอก

ผมลองหาข้อมูลดูเห็นทางเมืองนอกมีการโมฯ แก้ไขปรับปรุงบางจุดให้ดีขึ้นก็เลยลองทำตามบ้าง http://www.diyaudio.com/forums/solid-state/196210-quad-405-clone-7.html ผมทำตามบางส่วนโดยอุปกรณ์หลักๆ ใช้ของที่มีมาให้เปลี่ยนแปลงเฉพาะตัวเอ้าท์พุททรานซิสเตอร์ กับค่ารีซิสเตอร์บางตัว และเนื่องจากในวงจรมี IC op-amp จึงสามารถอัพเกรดเพื่อให้เสียงดียิ่งขึ้นได้อีก โดยการเปลี่ยนเบอร์ตามที่เค้าแนะนำไว้ (ดูรูปประกอบ) แต่ทั้งนี้ก็ต้องเปลี่ยนค่าอุปกรณ์บางตัวใหม่ เพื่อให้ได้ค่า Sensitivity กันกับ IC ที่เค้าคำนวนไว้ ไม่งั้นจะเกิดการฮัม หรือเสียงรบกวน หรือเลวร้ายก็อาจทำให้เกิดออสซิเลส ทำให้วงจรเสียหายได้ อันนี้ก็ต้องลองดูกันเอาเองครับ ซึ่งผมลองมั่วๆ หาอ่านข้อมูลจากคนที่โมฯแล้วมาปรับใช้แก้ไขตามก็ใช้ได้ ไม่มีปัญหา หม้อแปลงที่ใช้ 32-35 V ขนาด 5 แอมป์ขึ้นไป ถ้าต้องซื้อใหม่ก็แนะนำให้ใช้แบบ Toroidal ครับ แต่บังเอิญผมมีแบบ EI อยู่แล้วก็เลยต้องใช้ประหยัดเงินดีกว่า
Toroida
Toroida
Toroida

คัดแยกชิ้นส่วนเตรียมประกอบ

บอร์ดภาคจ่ายไฟ

หลังจากนั้นก็พยายามจัดวางให้ลงกล่อง


เสร็จแล้วลองจ่ายไฟเข้า ทดสอบว่ามีไฟออกที่ลำโพงหรือไม่ (ต้องไม่มี)
เนื่องจากแอมป์ตัวนี้ออกแบบโดยให้ไม่ต้องปรับแต่งอะไร ไม่ต้องปรับกระแสไฟ DC เข้า หรือกระแสไบอัส ง่ายดีผมชอบ ดังนั้นเมื่อประกอบเสร็จก็ต่อไฟใช้งานได้เลย หลังจากประกอบเสร็จแล้วลองจ่ายไฟเข้าบอร์ดทดสอบไม่มีปัญหาใดๆ ใช้งานได้ปกติ ฟังครั้งแรกเสียงที่ได้ดีครับ ให้ลายละเอียดดีมาก สำหรับหูตะกั่วคนแก่อย่างผม แต่เทียบกับต้นฉบับได้หรือปล่าวไม่รู้เพราะไม่เคยฟัง..555 แนะนำเลยครับเป็นแอมป์ราคาประหยัดที่น่าสนใจตัวนึง ใครที่ลองทำแล้วมีปัญหา  สอบถามมาได้ แต่คงช่วยได้ไม่มากนักเพราะตัวเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่...ยินดีครับ...





3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากครับ แล้วบอร์ดภาคจ่ายไฟใช้เป็นยังไงครับ

    ตอบลบ
  2. วงจรใช้ C กรองหลายตัวกับไดโอด MUR ช่วยให้กระแสนิ่ง สำหรับผมคิดว่าคุณภาพที่ได้ก็ดีครับ โดยเฉพาะใช้หม้อแปลงแบบธรรมดาได้ขนาดนี้ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  3. ซื้อบอร์ดที่ไหนครับ, ราคา?

    ตอบลบ